ฮาร์ดแวร์

ฮาร์ดแวร์

ซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์

เครือข่าย

เครือข่าย

ฮาร์ดดิสก์

ฮาร์ดดิสก์

ปัญหา : ข้อความแสดงการผิดพลาดเกี่ยวกับดิสก์ที่ไม่สามารถบู๊ตได้
สาเหตุ : คอมพิวเตอร์พยายามเริ่มระบบจากดิสเก็ตต์ที่ไม่มีซอฟต์แวร์ สำหรับเริ่มระบบ
การแก้ปัญหา : นำแผ่นดิสเก็ตต์ออกจากไดรฟ์เมื่อไฟแสดงสถานะบนไดรฟ์ดับ แล้วทำต่อๆ ไป โดยการกดคีย์ใด ๆ บนแป้นพิมพ์



ปัญหา : การทำงานของฮาร์ดไดรฟ์ช้าลง
สาเหตุ : ไฟล์ข้อมูลที่เก็บอยู่บนฮาร์ดดิสก์ อยู่กระจัดกระจาย
การแก้ปัญหา : ตรวจสอบส่วนของข้อมูลที่หายไปโดยการรันโปรแกรม Disk Defragmenter เพื่อที่จะรันโปรแกรม Disk Defragmenter จากเดสก์ทอปของวินโดวส์ ให้ คลิกที่ปุ่ม Start แล้วชี้ไปที่ Programs จากนั้นชี้ไปที่ Accessories และชี้ไปที่ System Tools คลิกที่ Disk Defragmenter



ปัญหา : ไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดไดรฟ์สว่างแต่ไม่กระพริบ
สาเหตุ : ไฟล์ข้อมูลที่เก็บอยู่บนฮาร์ดดิสก์ อาจจะเสียหาย
การแก้ปัญหา : ตรวจสอบส่วนของข้อมูลที่หายไปโดยการรันโปรแกรม Disk Defragmenter และเพื่อที่จะรันโปรแกรม Disk Defragmenter6 จากเดสก์ทอปของวินโดวส์ ให้คลิกที่ปุ่ม Start แล้วชี้ไปที่ Programs จากนั้นชี้ไปที่ Accessories และชี้ไปที่ System Tools คลิกที่ Disk Defragmenter



ปัญหา : เมื่อเพิ่มฮาร์ดดิสก์เข้าไปเป็นสองตัวแล้วเครื่องบู๊ตไม่ขึ้น

สาเหตุการแก้ปัญหา
1.ไม่ได้เซ็ท Active Partitionหรือเซ็ท Active Partition เป็นคนละ Partition กับที่ลงปฏิบัติการบู๊ตเครื่องโดยใช้แผ่นสตาร์ทอัพดิสก์ที่มีโปรแกรมเอฟดิสก์ (Fdisk) แล้วใช้โปรแกรมเอฟดิสก์ตั้งค่า Active Partition เป็นไดร์ฟ C หรือไดร์ฟทีลงระบบปฏิบัติการ
2.ไฟล์หลักของระบบปฏิบัติการเสีย- ใช้โปรแกรม Norton Ghost ลงไฟล์ที่แบ็คอัพไว้แก้ไข
- ใช้แผ่นโปรแกรมระบบปฏิบัติการติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่
3. ติดไวรัสเราสามารถตรวจสอบได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราติดไวรัสหรือเปล่า โดยการทำแผ่นดิสก์สำหรับแก้ไวรัสยามฉุกเฉิน ซึ่งจะทำได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรม Antivirus ต่าง ๆ หลังจากนั้นนำแผ่นโปรแกรมมาบู๊ตเครื่องแล้วโปรแกรมจะตรวจสอบไวรัสในฮาร์ดดิสก์และฆ่าให้



ปัญหา : เพิ่มฮาร์ดดิสก์เข้าไปแล้วเครื่องเห็นฮาร์ดดิสก์ไม่ครบ

สาเหตุการแก้ปัญหา
1.ไบออสไม่รู้จักฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ปัญหานี้เกิดกับเมนบอร์ดรุ่นเก่าที่ใช้กับฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ ซึ่งเมนบอร์ดรุ่นเก่า ๆ จะไม่สามารถมองเห็นฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่ได้ หรือถ้าเห็นได้ก็จะเห็นได้ไม่ครบตามขนาดที่แท้จริง ปัญหานี้แก้ได้ด้วยการไปดาวโหลด Flash BIOS มาอัพเกรดเพื่อให้ BIOS มองเห็นฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่ได้
2.ข้อมูลใน Partition เป็นชนิดที่ระบบปฏิบัติการนั้นไม่รู้จักภายในฮาร์ดดิสก์สามารถที่จะฟอร์เมตไดร์ฟได้หลายแบบ เช่น NTFS, Linux Native,Linux SWAP ซึ่งสามารถเรียกใช้ได้จากบางระบบปฏิบัติการเท่านั้น เช่น Linux Native และ Linux SWAP สามารถเรียกได้จากระบบปฏิบัติการ Linux หรือระบบ NTFS สามารถเรียกได้จากระบบปฏิบัติการ Windows รุ่นใหม่ ๆ และไม่สามารถเรียกใช้ได้ จาก Windows 95 หรือ Windows 98 ดังนั้นถ้าหากว่าฮาร์ดดิสก์ที่เราเพิ่มเข้ามาในเครื่อง มีการฟอร์แมตเป็นแบบที่ไม่สามารถใช้ร่วมกับระบบปฏิบัติการได้ ก็จะทำให้ระบบปฏิบัติการไม่สามารถมองเห็นข้อมูลในไดร์ฟนั้นได้ ทางแก้เราต้อง Copy ข้อมูลที่ต้องการไว้ที่อีก Partition ที่ใช้ได้หรือลบ Partition ทิ้งแล้วสร้างใหม่
3. Hard disk Controller บนเมนบอร์ดเสียส่งเมนบอร์ดซ่อม หรือได้เวลาเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่



ปัญหา : ฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ไม่ได้
สาเหตุ : ยังไม่ได้แบ่ง Partition
การแก้ปัญหา : ถ้าหากว่ากำลังจะฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์แต่กลับหาไดร์ฟไม่เจอ เช่น เปลี่ยนไปที่ไดร์ฟ C แล้วขึ้นคำว่า Invalid drive specified สันนิษฐานได้ว่าฮาร์ดดิสก์นั้นยังไม่ได้แบ่ง Partition ให้ลองใช้โปรแกรมแบ่ง Partition ตรวจสอบดูว่ามีการแบ่ง Partition แล้วหรือยังภายในฮาร์ดดิสก์



ปัญหา : ฮาร์ดดิสก์มีขนาดมากกว่า 2 GB แต่มองเห็นแค่ 2 GB

สาเหตุการแก้ปัญหา
1.โปรแกรมหรือระบบปฏิบัติการเป็นรุ่นเก่าถ้าหากว่าฮาร์ดดิสก์มีเนื้อที่เหลือที่ยังไม่ได้แบ่ง Partition มากกว่า 2 GB และไม่สามารถแบ่ง Partition เป็นแบบ FAT16 อยู่ ให้เปลี่ยนมาใช้โปรแกรมหรือระบบปฏิบัติการที่รองรับ FAT32 แทนแล้วแบ่ง Partition เป็นแบบ FAT32
2.BIOS ไม่รู้จกฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ให้ทำการ Flash BIOS ใหม่ ถ้าไม่สามารถ Flash BIOS อาจจะต้องเก็บเงินซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่ หรือซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่



ปัญหา : เครื่องคอมพิวเตอร์มองเห็นฮาร์ดดิสก์บ้าง บางครั้งก็มองไม่เห็น
สาเหตุ: สายไฟที่เข้าไปเลี้ยงฮาร์ดดิสก์หลวม
การแก้ปัญหา : สายไฟเลี้ยงฮาร์ดดิสก์อาจหลวมบางขั้วต่อ ถึงแม้วาเราจะเสียบแน่นก็ตาม อาจลองแก้โดยการนำคีมบีบหน้าสัมผัสของสายจ่ายไฟเลี้ยงให้แคบเข้า เพื่อให้ทุกขั้วสัมผัสดี



ปัญหา : หลอดไฟ ไดร์ฟฮาร์ดดิสก์สว่างตลอดเวลา

สาเหตุการแก้ปัญหา
1.เกิด Bad Sectorเมื่อฮาร์ดดิสก์กำลังพยายามอ่านพื้นที่ที่ไม่สามารถใช้เก็บข้อมูลได้ (Bad Sector) จะใช้เวลาในการอ่านนานในขณะที่เครื่องกำลังการตอบสนองจากฮาร์ดดิสก์นั้น ไฟฮาร์ดดิสก์ก็จะสว่างตลอด ซึ่งสามารถตรวจสอบว่ามี Bad Sector หรือเปล่าโดยใช้โปรแกรมประเภท Disk Utility ซ่อม เช่น Norton Utility เป็นต้น
2.ต่อหลอด LED สลับขั้วบางเมนบอร์ดถ้าหากเสียบสายต่อไฟ LED สลับขั้วแล้ว จะทำให้ LED สว่างขณะที่ฮาร์ดดิสก์ไม่ได้ทำงาน แต่ดับขณะที่ฮาร์ดดิสก์ทำงานทำให้ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์ไม่ทำงานไฟ LED จะติดค้างอยู่ สามารถแก้ได้โดยการเปิดฝาเครื่องแล้วเสียบสาย LED ฮาร์ดดิสก์เสียใหม่ให้ถูกทาง



ปัญหา : เจอไดร์ฟของฮาร์ดดิสก์แต่เข้าไม่ได้

สาเหตุการแก้ปัญหา
1.เป็น Partition ชนิดที่ระบบปฏิบัติการไม่รู้จักต้อง Copy ข้อมูลที่ต้องการมาไว้ที่อีก Partition ที่ใช้ได้ หรือลบ Partition ทิ้งแล้วสร้างใหม่
2.ยังไม่ได้ฟอร์แมตถ้าใช้โปรแกรมแบ่ง Partition บางโปรแกรม เช่น Fdisk หลังจากแบ่ง Partition เสร็จแล้วจะยังไม่สามารถใช้งานได้ในทันที แต่จะต้องใช้คำสั่งฟอร์แมตอีกครั้งหนึ่ง
3.Partition เสียบางครั้งเครื่องอาจติดไวรัส เครื่องแฮงก์หรือโปรแกรมต่าง ๆ ทำงานผิดพลาด ทำให้ข้อมูลในส่วนที่สำคัญของ Partition ถูกแก้ไขและข้อมูลเสียไปด้วย การกู้ข้อมูลอาจใช้โปรแกรม Disk Utility ต่าง ๆ ที่มีโปรแกรมช่วยกู้ข้อมูล และทางที่ดีเราควรลงโปรแกรมที่จะช่วยแบ็คอัพข้อมูลเช่น โปรแกรม Norton Ghost ซึ่งโปรแกรมจะรวบรวมข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆ ในฮาร์ดดิสก์แล้วสำรองไว้ เวลาที่ Partition มีปัญหาสามารถใช้แผ่น กู้ฉุกเฉินของโปรแกรมนี้กู้ข้อมูลกลับมาได้ แต่ถ้ากู้ไม่ได้ คงต้องยอมสูญเสียข้อมูลไป แบ่ง Partition แล้วลงโปรแกรมใหม่



ปัญหา : ฮาร์ดดิสก์แบบ ATA 133 MHz ทำงานแค่ 100 MHz

สาเหตุการแก้ปัญหา
1.เมนบอร์ดไม่รองรับลองไปดาวน์โหลด Flash BIOS เวอร์ชั่นใหม่จากเว็บไซต์บริษัทผู้ผลิตเมนบอร์ดมาอัพเกรดดู ถ้าแก้ไม่ได้หรือในเว็บไซต์ของบริษัทผู้ผลิตบอกว่าใช้ไม่ได้ก็แสดงว่าคงจะต้องใช้เพียงแค่ 100 MHz หรือไม่ถ้าอยากใช้ 133 MHz ก็คงจะต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
2 .เซ็ทค่าใน BIOS ไม่ถูกต้องให้เข้าไปแก้ BIOS ในหัวข้อ IDE ให้เป็น UDMAMode หรือ ATA 133
3.เซ็ท Jumper ที่ฮาร์ดดิสก์ไม่ถูกต้องฮาร์ดดิสก์บางรุ่นสามารถตั้งค่าได้ว่าจะใช้ความเร็วเท่าใด โดยดูที่ฉลากที่ติดมาบนตัวฮาร์ดดิสก์ ซึ่งจะมีรูปภาพอธิบายวิธีการเซ็ทตำแหน่งของ Jumper
4.ใช้สาย BUS ผิดชนิดต้องใช้สาย BUS สำหรับ ATA 133 โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นชนิด 80 เส้น



ปัญหา : ขึ้นข้อความ Error Message ว่า "Disk boot failure"
สาเหตุ : เนื่องจากฮาร์ดดิสก์ไม่มีระบบปฏิบัติการหรือไฟล์สำคัญของระบบปฏิบัติการเสียหาย
การแก้ปัญหา : โดยการลงระบบปฏิบัติการใหม่อีกครั้งโดยขั้นแรกให้บู๊ตจากไดร์ฟ A ก่อน โดยเขาไปเซ็ทที่ BIOS ให้บู๊ตจากไดร์ฟ A เป็นไดร์ฟแรก จากนั้นให้นำแผ่นสตาร์ทอัพดิสก์ใส่ในไดร์ฟ A แล้วเริ่มเครื่องใหม่ เครื่องจะทำการบู๊ตผ่านทางฟล๊อปปี้ดิสก์ จากนั้นให้ทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่ลงในไดเร็คทอรี่เดิม โดยไม่ต้องฟอร์แม็ต จะเป็นการซ่อมแซมไฟล์ และทำให้ขอมูลอื่น ๆ ไม่สูญหาย



ปัญหา : ขึ้นข้อความ Error Message ว่า"Hard disk Controller Fail"
สาเหตุ : เป็นอาการเสียที่เมนบอร์ดที่ช่องเสียบฮาร์ดดิสก์แบบ IDE
การแก้ปัญหา : เบื้องต้นให้ลองสลับสายฮาร์ดดิสก์มาใช้อีกช่องเสียบตำแหน่งที่เหลือโดยให้ต่อเป็น Master กับ Slave อีกวิธีหนึ่งให้ซื้อ Hard disk Controller เป็นการ์ดมาเสียบแล้วเข้าไปใน BIOS เพื่อเขาไปปิด ช่องเสียบฮาร์ดดิสก์บนบอร์ด ถ้ายังแก้ไม่ได้ให้นำเมนบอร์ดส่งร้านซ่อมเพื่อเปลี่ยน Chip set ที่เสีย



ปัญหา : ขึ้นข้อความ Error Message ว่า"Primary Master Had disk Fail"

สาเหตุการแก้ปัญหา
1.ฮาร์ดดิสก์เสียถ้าอยู่ในช่วงประกันสามารถเอาไปเคลมเพื่อแลกตัวใหม่ได้ แต่ถ้าพ้นช่วงประกันไปแล้วก็คงต้องซื้อใหม่เพราะอาการนี้ซ่อมยาก
2.เราทำการถอดฮาร์ดดิสก์ออกไปแล้วไม่ได้ใส่กลับในช่องเดิม ในขณะที่ไปเซ็ทค่าไบออสให้จำค่าของฮาร์ดดิสก์ตัวเก่าไว้ แต่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เข้าไปเซ็ทค่าไบออสตรงกับฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่หรือเข้าไปสลับตำแหน่งฮาร์ดดิสก์ให้ถูกต้องเหมือนเดิม


No Response to "ฮาร์ดดิสก์"

แสดงความคิดเห็น